Future Food อีกหนึ่ง Mega Trend กำลังมาแรงและถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง เนื่องจากโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่จากการเพิ่มขึ้นของประชากร โดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้คาดการณ์ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มจำนวนจากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 7.3 พันล้านคนเป็น 8.5 พันล้านคน ในปี 2030 และเพิ่มเป็น 11.2 พันล้านคนในปี 2100 ส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะขาดแคลนทรัพยากรโดยเฉพาะอาหารเนื่องมาจากปริมาณความต้องการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นนอกจากนี้ยังมี Climate Change หรือการเกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้ผู้คนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น กินแล้วไม่ป่วยกินแล้วสุขภาพแข็งแรงขณะที่เทคโนโลยีและวิทยาการอาหารที่มนุษย์ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อเตรียมการรับมือปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร แน่นอนว่าอาหารที่เรากินอยู่แบบเดิมๆ จะเปลี่ยนไป นอกจากนั้นก็เป็นโอกาสทองของคนรุ่นใหม่ที่มองหาธุรกิจที่น่าสนใจในอนาคต
5 เมกะเทรนด์ Future Food
แมลง อาหารโปรตีนทางเลือก ในด้านประโยชน์ทางโภชนาการ อาหารแมลง ก็เป็นที่ยอมรับว่าอุดมไปด้วยโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ และกรดอะมิโน แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในด้านของการเจริญเติบโต ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อโลกน้อยกว่ากระบวนการการผลิตเนื้อสัตว์เป็นอย่างมาก
นอกจากนั้น สภาพภูมิอากาศในประเทศไทยก็เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของแมลง มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปอาหารที่ทันสมัยนอกจากนี้ ในกระบวนการเพาะเลี้ยงและการผลิตใช้ทรัพยากรน้อยกว่าสัตว์อื่นๆ เนื่องจากวงจรการเติบโตของแมลงมีระยะสั้น จึงก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจำนวนน้อย และเกิดแก๊สมีเทนที่จะสร้างปัญหาต่อก๊าซเรือนกระจกต่ำ
เนื้อสัตว์จากพืช (Plant Based Meat)
plant based meat เป็นอาหารทางเลือกที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดโลก จึงได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน นอกจากนี้ plant-based meat ยังนับว่าเป็นอาหารแห่งอนาคต ที่จะช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับมนุษยชาติ
สำหรับตลาดในไทย plant-based meat ทั้งในฝั่งผู้ผลิตและผู้บริโภคยังนับว่าอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น โดยผู้ประกอบการและนักวิชาการส่วนใหญ่คาดว่า ไทยต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีในการพัฒนาธุรกิจดังกล่าวให้ทันกับต่างประเทศ เพราะแม้ว่าไทยจะมีข้อได้เปรียบด้านวัตถุดิบจากการมีผลผลิตทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ
แต่การเร่งวิจัยและพัฒนา (Research and Development หรือ R&D) นวัตกรรมด้านอาหารยังมีความจำเป็น ซึ่งการทำ R&D ควบคู่ไปกับความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน จะทำให้ plant-based meat เป็นโอกาสในการสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมอาหารของไทยได้อย่างแท้จริง
3D Printing Food นวัตกรรมวางแผนการผลิตอาหารในอนาคต
3D food printing เป็นนวัตกรรมการผลิตรูปแบบหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการ และเทคโนโลยีนี้อาจตอบโจทย์ท้าทายใหม่ของอุตสาหกรรมอาหารในการจัดเตรียมหรือผลิตอาหารให้เพียงพอต่อประชากรโลกที่คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนสูงถึง 9 พันล้านคนภายใน ปี 2050 เนื่องจาก เทคโนโลยีการพิมพ์อาหาร 3 มิติเป็นกระบวนการผลิตอาหารที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบอย่างคุ้มค่า รักษาคุณค่าทางโภชนาการได้ครบถ้วน และไม่เกิดของเหลือทิ้งในกระบวนการ
นอกจากจะทำให้ได้เนื้อเสมือนจริงแล้ว การพิมพ์แบบ 3 มิติ ยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณเศษอาหารได้ เพราะในเศษอาหารบางชนิดยังเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการพิมพ์ได้ จึงนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและลดของเสียอันเป็นปัจจัยที่ทำให้โลกร้อนอีกด้วย
เนื้อสัตว์จากห้องทดลอง
ในปัจจุบัน เทรนด์รับประทานเนื้อสังเคราะห์กำลังมาแรง เพราะมนุษย์ฆ่าสัตว์กินเพื่อบริโภคเป็นอาหารมากเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่ทุกวันนี้ความต้องการอาหารประเภทเนื้อทางเลือกจากเนื้อปกติกำลังเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเนื้อสัตว์เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องปัญหาสุขภาพ, สวัสดิภาพสัตว์ กับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในทางเลือก คือการผลิตเนื้อจากเซลล์ของสัตว์ โดยไม่จำเป็นต้องฆ่า
โดยเทคโนโลยีการผลิตเนื้อจากห้องแล็บสมัยปัจจุบัน จะใช้วิธีนำสเต็มเซลล์จากกล้ามเนื้อของสัตว์ต้นแบบมาเพาะเลี้ยงในถังหมัก (bioreactor) ในอุณหภูมิที่เหมาะสม และใช้น้ำเลี้ยง (culture medium) ซึ่งสกัดจากพืช เป็นสารอาหารหล่อเลี้ยงให้สเต็มเซลล์เติบโต
ถึงตอนนี้ต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมเนื้อจากห้องแล็บ แม้จะมีความท้าทายมากมายที่กำลังรอให้เนื้อจากห้องแล็บต้องพิสูจน์เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่บริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลกคาดว่าภายในปี 2583 หรือ 20 ปีข้างหน้า เนื้อส่วนใหญ่ที่มนุษย์ในโลกนี้บริโภคจะไม่ได้มาจากการฆ่าสัตว์อีกต่อไป เพราะราคาถูก ปลอดภัย และมีโปรตีนสูงไม่แพ้เนื้อสัตว์เลย
สาหร่าย อาหารอุดมไปด้วยประโยชน์
เพราะสาหร่ายมีศักยภาพที่จะนำไปใช้ในอาหาร อาหารเสริม อาหารสัตว์ ปุ๋ย เชื้อเพลิงชีวภาพ เวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง ซีรั่มชะลอความแก่ เป็นต้น อีกทั้งการเพาะปลูกสาหร่ายสามารถช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นอุตสาหกรรมสาหร่ายทะเลจึงมีศักยภาพในวงกว้างสาหร่าย
ไม่เพียงเป็นแหล่งที่ให้ปริมาณโปรตีนในระดับสูงเท่านั้น หากยังมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินบี แคลเซียม ธาตุเหล็ก กรดไขมันที่จำเป็น และใยอาหารสูง นอกจากนี้ สาหร่ายยังมีกรดไขมันบางชนิดที่พบไม่ได้ในพืชชนิดอื่น ได้แก่ กรดไขมันที่มีโอเมก้า 3 และ 6 เช่น EPA และ DHA ทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมจากสาหร่ายมีคุณค่าทางอาหารเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อยยิ่งขึ้นด้วยกรดกลูตามิก ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทำให้เกิดรสอูมามิหรือรสกลมกล่อมในอาหารอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม กระแสการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร จะส่งผลให้ปริมาณความต้องการอาหารเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์สำหรับเป็นอาหารกลับลดปริมาณลงอย่างต่อเนื่อง จากการถูกแทนที่ด้วยที่อยู่อาศัย จึงไม่แปลกที่ในอนาคตอันใกล้นี้ ผลิตภัณฑ์อาหารรูปแบบใหม่ อาทิ โปรตีนจากพืช และโปรตีนสัตว์อย่างแมลง จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภค